วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4


  บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558
วันพฤหัสบดี 5 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับในสัปดาห์นี้

วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว 
หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่นวัสดุที่มีปลายแหลม คม เเละเเตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีหรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้างหรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

กระดาษ เพราหาง่ายราคาไม่แพงเป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน กระดาษปรุ๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ  กระดาษมันปู  กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น
  • กระดาษนำมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆเพื่อจะได้งานที่ดีสวยงามเเละเหมาะสมไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาเเพงเกินไป




  • กระดาษวาดเขียน  ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน เรียกเป็นปอนด์ มี 60 80 100 
  • กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งชนิดหน้าเดียวเเละสองหน้า ทั้งหนาเเละบางสีสดใส หลากสี ราคาแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์ เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
  • กระดาษมันปู  เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนาด้านหลังเป็นสีขาวมีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
  • กระดาษจากนิตยสาร สามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
  • กระดาษหนังสือพิมพ์  เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่าและหมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า
สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

  • สีเป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ

  • สีเทียน คือ สีที่ผสมกับขี้ผึ้งเเละทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีที่สดใส ไม่ผสมไขเทียนมากเกินไป
  • สีชอล์กเทียน  เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดาคล้ายสีเทียนเป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมัน หรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
  • สีเทียนพลาสติก  ผลิตขึ้นจากสีเทียนเเละพลาสติกผสมทำเป็นแท่งเล็กๆแข็ง มีสีสดหลายสีใช้ระบายสีง่าย ใช้กบเหลาได้เหมือนดินสอ มีราคาแพงมาก
  • สีเมจิ  บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี2ชนิด คือ ปลายแหลมและปลายตัด เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง เเต่เด็กเล็กๆจะชอบเพราะใช้สะดวก
  • ปากกาปลายสักหลาด หรือที่เรียกว่า ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติกปากเป็นสักหลาดเเข็งภายในบรรจุด้วยหลอดสี ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้างถ้าทิ้งไว้นานๆสีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
  • ดินสอ  ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า7ปี เพราะ การแสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป
  • ดินสอสีหรือสีไม้  เหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็กๆเพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาเเพง เมื่อเปรียบเทียบกับสีเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ
  • สีฝุ่น  เป็นสีผง ทึบเเสง  มีหลายสีใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น 
  • สีโปสเตอร์  ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขายเป็นสีทึบเเสง ผสมเสร็จเรียบร้อยเเล้วพร้อมใช้ได้เลย คล้ายครีมมีราคาเเพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กใช้ง่ายแต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆจะต้องใช้สีขาวผสม
  • สีน้ำ  เป็นสีโปร่งแสงไหลผสมกลมกลืนง่ายสาม ารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ใช้กับพู่กันก้นกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
  • สีพลาสติก  มีขายตามร้ายวัสดุก่อสร้าง ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสีย คือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักใช้ชั่วคราวและจะต้องล้างอย่างดีหลังเลิกใช้เเล้ว
  • สีจากธรรมชาติ  จะเป็นสีที่ได้จากผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือเปลือกของพืชดิน เป็นสีที่ไม่มีสารเคมีเจือปนจึงไม่เป็นอันตรายแก่เด็ก
วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ



  1. กาว กาวที่เหมาะสมมากกับเด็กคือ กาวที่กวนเองจากเเป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียวเรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานง่ายกว่ากาวชนิดอื่น
  2. ดินเหนียวหรือดินตามธรรมชาติ  มีมากในต่างจังหวัดนำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาระบายสีได้
  3. ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมชของน้ำมันผสมอยู่ กลิ่นแรง เนื้อนิ่มที่โดนความร้อน  เเข็งเมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็ก
  4. ดินวิทยาศาสตร์  มีลักษณะนิ่ม มีหลายสีไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน เเละไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปนเหมาะกับเด็ก
วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ



อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ 
    อุปกรณ์  คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานเป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไปแต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดในคุณภาพของสิ่งนั้นๆ



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
  1. เป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิผลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
  2. สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
  • สีจากธรรมชาติ  สีของดอกไม้  ใบไม้  ผล  ลำต้น
  • สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา  เช่น  สีน้ำ  สีโปสเตอร์  สีฝุ่น  สีน้ำมัน  สีทาบ้าน
ทฤษฏีสี(Theory of colors)




อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก


สีเหลือง  ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
สีแดง  ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
สีเขียว   เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
สีน้ำเงิน  เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
สีม่วง  เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
สีส้ม  ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
สีน้ำตาล  ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
สีดำ  เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
สีเทา  สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
สีขาว   สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
สีฟ้า  สว่าง มีชีวิตชีวา
สีชมพู   ร่าเริง สดใส



กิจกรรมของสัปดาห์นี้

1. กำหนดให้วาดสิ่งมีชีวิตตามจุดที่กำหนด



2.  กำหนดให้วาดสิ่งไม่มีชีวิตตามจุดที่กำหนด



ผลงานรวมของเพื่อน









วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3

                                      บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 

                                   วันอังคารที่ 27 มกราคม 2558
              *หมายเหตุ วันพฤหัสบดี ที่ 29 มกราคม 2558 อาจารย์ไปสัมนา จึงมอบหมายงานให้ทำคาบต่อไป



ความรู้ที่ได้รับ 
ความสำคัญ
         ศิลปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการที่หลากหลาย
จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
     1 ฝึกทักษะในการใช้มือและเตรียมความพร้อมผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
     2 ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
     3 พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
     4 ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีงามของศิลปะ
     5 ฝึกให้เด็กได้เริ้มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือในการทำศิลปะ
     6 ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
     7 เปิดโอกาศให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระผ่อนคายสนุกสนาน
     8 นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
บทบาทของครูศิลปะ
    1 สอนด้วยใจรักและเอาใจใส่
    2 ยอมรับความสามารถของเด็กแต่ละคน
    3 เปิดโอกาสและให้อิสระเด็กในการสร้างผลงาน
   4ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก หรือ แก้ปัญหาแทนเด็ก
   5 กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้เด็กแสดงออกอย่างเต็มความสามารถ
   6 มีการวางแผน
ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

    1 เลือกเรื่องที่จะสอน
    2 กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
    3 เตรียมการก่อนสอน
    4 ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
    5 ทำการสอนจริงตามแผน
    6 เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน
    7 การปฎิบัติงานของเด็กโดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล
    8 การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
    9 การประเมินผลงานเด็ก
เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

 การสอนศิลปะเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
   เข้าถึง - ดูแล เอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
   เข้าใจ - ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  ให้ความรัก - รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา ช่วยเหลือ
  สร้างสรรค์บรรยากาศ - หลากหลาย สนุกสนาน อิสระ
  มีระเบียบวินัย - มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัย ในการทำงาน
  ปลอดภัย - คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

                               
                            กิจกรรมวาดภาพระบายสี
                                          ให้วาดภาพต่อเติมตามจิตนาการ


                                        ผลงานของฉัน





            งานที่อาจารย์ได้รับมอบหมายให้ไปทำ ในระหว่างที่อาจารย์ไปสัมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ

 ชิ้นที่ 1 ให้วาดลวดลายใส่ลงไปในช่องที่กำหนด โดยไม่ซ้ำกัน


ชิ้นที่ 2วาดโครงร่างตามจินตนาการแล้วออกแบบลวดลายตามจินตนาการ








บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

                                         บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2 

                                         วันอังคาร ที่ 20 มกราคม 2558
                                       วันพฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม 2558
ความรู้ที่ได้รับในสัปดาห์นี้

ความหมายของศิลปะ 
              คือ  งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความปราณีต งานศิลปะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่

ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
      ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
                                                                                       
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
      ทฤษฎีพัฒนาการ
            พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์

 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
      1 ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด 
         ความสามารถของสมอง กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
            1.1 มิติที่ 1 เนื้อหา
            1.2 วิธีการคิด
            1.3 ผลของการคิด
     2 ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
         แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
            2.1 ขั้นการค้นพบความจริง
            2.2 ขั้นการค้นพบปัญหา
            2.3 ขั้นการต้้งสมมุติฐาน
            2.4 ขั้นการค้นพบคำตอบ
            2.5 ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
     3 ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
        การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน
           สมองซีกซ้าย >> ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
           สมองซีกขวา >> ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
           ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ มุ่งการพัฒนาสมองซีกซ้าย  ขาดการสนับสนุนให้สมองซีกขวาพัฒนาควบคู่กันไป
     4 ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
        แบ่งเป็น 9 ด้าน
         4.1  ความสามารถด้านภาษา
         4.2  ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
         4.3  ความสามารถด้านดนตรี
         4.4  ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
         4.5  ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
         4.6  ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
         4.7  ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
         4.8  ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
         4.9  ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
    5 ทฤษฎีโอตา
       แบ่งเป็น 4 ขั้น
         5.1  การตระหนัก
         5.2  ความเข้าใจ
         5.3  เทคนิควิธี
         5.4  การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
     พัฒนาการทางศิลปะ

        ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย
        ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
        ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ
        ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ

                                   กิจกรรมมือสร้างสรรค์  (หน่วยร่างกาย)


                               ผลงานของฉัน






                                 รวมผลงานของเพื่อน





          





บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1 

วันอังคาร ที่ 13 มกราคม 2558
 วันพฤหัสบีดี ที่ 15 มกราคม 2558



 กิจกรรมในวันนี้ 

       วันนี้เป็นการเรียนการสอนคาบเเรก ของวิชา อาจารย์ได้แจก คอสสิริบัส และพร้อมบรรยายรายละเอียดในการสอนของรายวิชา และมีการอธิบายเกี่ยวกับ เวลาการเข้าเรียน สาย หรือขาดได้กี่ครั้ง และการแต่งกาย
กิจกรรม
                  
         อาจารย์ได้มอบหมายงานชิ้นแรกให้ นักศึกษา วาดรูปตนเองตามจินตนาการ 

                                                   ผลการของดิฉัน





รวมภาพวาดของเพื่อน




 สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้

    1 ครูไม่ควรตำหนิผลงานของเด็ก
    2 ครูไม่ควรปิดกั้นจินตนาการของเด็ก
    3 ครูควรให้คำชมเชยแกเด็ก เพื่อให้เด็กมีแรงบันดาลใจในการทำผลงานชิ้นต่อไป
    4 รู้เกี่ยวกับวิธีการติดกระดาษผลงานบนกระดานหน้าห้องเรียน
    5 หลังจากที่เด็กทำกิจกรรมเสร็จ ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับที่เด็กวาด

กิจกรรมตอบคำถาม 
อาจารย์ให้จับกลุ่ม 6 คน  ทำกิจกรรมและตอบคำถาม

แต่ละกลุ่มจะนำเสนอหัวข้อ ต่อไปนี้
1 ศิลปะหมายถึง และความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย
2 ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
3 บทบาทของครูที่จะสอนศิลปะ                                                              
4 คุณลักษณะของครู
5 สื่อที่จะนำมาสอนศิลปะ 
6 ตัวอย่างของกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
7 สิ่งที่คาดว่าจะได้รับในรายวิชานี้

                                                       ภาพการนำเสนอ
















สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอ

  1 ทราบถึงความหมายของศิลปะ
  2 ฝึกการกล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียนในการนำเสนองาน
  3 ความสามัคคีในการทำงาน
  4 รู้บทบาทหน้าที่ของครูในการสอนศิลปะ อย่างถูกต้อง

                                         

                                          V D O ด เด็ก  ช ช้าง


                        

       อาจารย์ให้ชมคลิป วีดีโอ ด เด็ก ช ช้าง   วีดีโอได้ให้แง่คิดในการเป้นครุที่ดี ครูควรมีลักษณะอย่างไรในการสอน ครูไม่ควรสร้างความอับอาย หรือ ประจารณ์ผลงานของเด็ก